สายพันธุ์ปลาคราฟ : ตอนที่ 2

กลุ่มปลาคาร์พวาไรตี้

 

ซึ่งในปัจจุบันมีจำนวนสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นใหม่เยอะมาก ดังนั้นจึงขอยกตัวอย่างสายพันธุ์ต่างๆที่ผู้เลี้ยงนิยมเลี้ยง ดังนี้

อุซึริ โมโนะ (Shiro Utsuri, Hi Utsuri, Ki Utsuri)

หมายถึง ปลาที่มีลักษณะลวดลายของสีดำพาดลงมาเป็นแถบถึงช่วงท้องของปลา  จุดเด่นของปลาสายนี้อยู่ที่สีดำ ซึ่งมีลักษณะเป็นแถบยาวพาดตัวเลยเส้นประสาทข้างตัวของปลา (Lateral Line) ลงมาถึงช่วงท้องของปลา และลวดลายของสีดำที่พาดผ่านส่วนหัวของปลา ปลาในกลุ่มอุซึริสามารถมีชื่อเรียกแยกออกไปตามสีพื้นบนตัวปลา






Shiro Utsuri คือ ปลาที่มีลวดลายสีดำดังกล่าวบน พื้นสีขาว
Hi Utsuri คือ ปลาที่มีลวดลายสีดำดังกล่าวบนพื้นสีแดงอมส้ม
Ki Utsuri คือ ปลาที่มีลวดลายดำบนพื้นสีเหลือง


กรณีที่เลือกปลาในสายพันธุ์นี้ที่เป็น Hi Utsuri และ Ki Utsuri ก็สามารถนำหลักการพิจารณาพื้นสีดำและลวดลายไปใช้ได้เช่นกัน รวมถึงสัดส่วน ระหว่างสีดำและสีแดงสำหรับกรณี Hi Utsuri และระหว่างสีเหลืองและสีดำสำหรับกรณี Ki Utsuri โดยจะต้องเลือกปลาที่มีพื้นดำเป็นแถบ ไม่อยู่ในลักษณะขี้แมลงวันหรือเป็นจุดดำเล็กๆ ขึ้นอยู่บนผิว ซึ่งถือว่าไม่มีคุณภาพ
 

ตันโจ (Tancho)

จุดเริ่มต้นที่แท้จริงของสายพันธุ์นี้ ต้องยกให้เป็นสายพันธุ์ Kohaku ซึ่งมีสีขาวทั้งหมดทั่วทั้งตัว ยกเว้น วงกลมสีแดงตรงจุดศูนย์กลางของหัว เรียก Tancho Kohaku (ตันโจ โคฮากุ) เป็นสายพันธุ์ที่เป็นที่ชื่นชอบของคนญี่ปุ่น เพราะมีลักษณะเหมือนธงชาติของประเทศญี่ปุ่น หรือ เหมือนดวงอาทิตย์สีแดงบนพื้นสีขาวนั่นเอง






 
ปลาแฟนซีคาร์พในสายพันธุ์ Tancho แยกได้ออกเป็นอีกหลากหลายสายพันธุ์ย่อย
ยกตัวอย่างเช่น Tancho Sanke (ตันโจซังเก้), Tancho Showa (ตันโจโชว่า) และแม้แต่ Tancho Goshiki (ตันโจโงชิกิ)
ตันโจ โคฮากุ (Tancho Kohaku) ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ตันโจ โคฮากุ มีลวดลายวงกลมสีแดงบนหัวเท่านั้น ไม่มีลวดลายสีแดงที่จุดอื่นๆอีกตลอดลำตัว

ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ตันโจ ไทโช ซันโชกุ (Tancho Taisho Sanshoku) หรือ ตันโจ ซังเก้ (Tancho Sanke) ตันโจ ซังเก้ ต้องพิจารณาลวดลายสีแดงเหมือน ตันโจ โคฮากุ คือแดงต้องกลมใหญ่ ขอบเขตสีคมชัดเจน ไม่มีลวดลายสีแดงบริเวณอื่นๆบนตัวปลาอีก พิจารณาผิวสีขาวต้องขาวดุจหิมะ พิจารณาลวดลายสีดำต้องมีตำแหน่งที่เหมาะสม สีดำลึกและมันเงา เหมือนที่พิจารณาลวดลายสีดำในปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ ซังเก้


โงชิกิ (Goshiki)
เป็นปลาที่มีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นขาวและส่วนหัว ของปลาแต่การมีสีดำปรากฏขึ้นบนพื้นที่สีแดงหากมากเกินไปถือว่าเป็นการลดความเด่นของสีแดงบนตัวปลาลงไป



 
ฮิคาริโมโย โมโน ( Hikarimoyomono )

หมายถึง ปลาคาร์พที่มีผิวมันเงาแวววาว  มีลวดลายสวยงาม เช่น คุจากุ (Kujaku)  แปลว่านกยูง คุจากุเป็นปลาฮิคาาริ โมโย โมโนที่มีสีพื้นเป็นสีเทาเงินหรือสีตะกั่วมันเงา ประกอบกับที่แพทเทิร์นสีแดงวางลวดลายเช่นเดียวกับโคฮากุ

ฮาริวาเก้ (Hariwake) ลักษณะพื้นฐานเป็นปลาที่มีพื้นสีขาวเงา แพทเทินส์สีเหลืองวางลวดลายแบบโคฮากุ  นอกจากนี้แล้ว หากรวมปลาดอยซ์เข้าไปด้วยจะทำให้คาวาริโมโย โมโนมีสายพันธุ์ที่หลากหลายมากๆ ยากตัวอย่างเช่น ยามาโตะ นิชิกิ, ซากุระ โอกอน, กินเบคโกะ เป็นต้น


คาวาริโมโน (Kawarimono) หรือ คาวาริกอย (Kawarigoi)

เป็นหมวดหมู่สายพันธุ์ที่ประกอบไปด้วยปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ต่างๆมากมาย ซึ่งเป็นที่รู้จัก และมีชื่อสายพันธุ์อย่างเป็นทางการ แต่ไม่เข้าพวกกับหมวดหมู่สายพันธุ์อื่น หรือจะเรียกง่ายๆว่า ปลาแปลก นั่นเอง




 
อาซากิ (Asagi)

เป็นปลาคาร์พสายพันธุ์บริสุทธิ์  หมายความว่า เป็นการผ่าเหล่าโดยตรงมาจาก มากอย หรือ ปลาคาร์พยุคแรกที่ผ่าเหล่ามาจากปลาไนสีดำ รูปลักษณ์ของอาซากิ  ที่ผ่าเหล่ามาจากมากอยในยุคแรก   กับอาซากิยุคนี้ไม่ได้แตกต่างกันเท่าไรนัก ชื่อ อาซากิ คงตั้งมาจากสีฟ้าที่ปรากฏบนตัวปลา อาซากิจะมีสีแดง ตั้งแต่แก้ม ครีบอก บริเวณใต้ท้องด้านข้างลำตัวยาวลอดไปจนถึงโคนหาง  และบางตัวยังมีสีแดงที่ครีบหลังด้วย   สีแดงที่กล่าวนี้เป็นอะไรที่สร้างความสวยงามให้กับอาซากิเป็นอย่างมาก  

ลักษณะเด่นของอาซากิในยุคปัจจุบันอีกอย่างนึง  เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก  คือ ฟูกูริน  ซึ่งก็คือเนื้อเยื่อที่คลุมระหว่างเกล็ด  ที่มักถูกเรียกว่า ตาข่าย




 
ซูซุย (Shusui)

คล้ายคลึงกับอาซากิ สิ่งที่แตกต่างเพียงอย่างเดียวระหว่างอาซากิกับซูซุย  ที่มองเห็นจากภายนอกคืออาซากิที่มีเกล็ดทั้งตัว  ส่วนซูซุยมีเกล็ดบางส่วน  ตรงบริเวณสันหลังกับบริเวณข้าง หลังมีส่วนสีฟ้าอมเทาและลวดลายสีแดงถอดแบบมาจากอาซากิ





ฮิคาริ มูจิโมโน (Hikari Mujimono)

คำว่า Hikari แปลว่า "เกล็ดแวววาว" ส่วน mono แปลว่า "ชนิด" และคำว่า muji นั้นแปลว่า ล้วนๆ หรือสีเดียว ดังนั้น ความหมายของปลาฮิคาริมูจิโมโน ก็คือปลาที่มีเกล็ดสีแวววาวสีเดียวล้วนๆ ซึ่งความแวววาวของเกล็ดปลาในกลุ่ม Hikari นี้จะออกไปเป็นแบบความแวววาวคล้ายโลหะ (Metallic Shade)

ส่วนใหญ่แล้วเราจะเรียกสายพันธุ์นี้รวมๆว่า Ogon (โอกอน) มักถูกจัดหมวดหมู่โดย โดยมีสีต่างๆ คือ Yamabuki (ยามาบูกิ) สีเหลือง ,Purachina (พุราฉินะ) สีแพลตินั่มหรือทองคำขาว ,Orengi (ออเร้นจิ) สีส้ม ,Nezu (เนสึ,เนซู) สีเทา และ Mukashi (มุกาชิ,มุคาชิ) สีทองแวววาว เมื่อมีการทดลองผสมข้ามสายพันธุ์ระหว่าง ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ Hikari Mujimono กับปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์อื่นๆ ผู้เพาะพันธุ์ (breeder) สามารถเพาะ ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์ใหม่ๆได้อีกมากมาย ในสายพันธุ์ Hikari Mujimono มีปลาแฟนซีคาร์พที่มีลักษณะลวดลายปกคลุมทั่วตัวคล้าย ลูกสน หรือ รูปกรวย ปลาแฟนซีคาร์พสายพันธุ์นี้มีชื่อว่า Matsuba (มัตสึบะ,มัตจึบะ)




 
 
มูจิโมโน (Mujimono)

เป็นปลาคาร์พที่เดียวตลอดตัว ไม่มันเงาแวววาว มักเป็นสายพันธุ์ที่มีความเชื่อง นำฝูง ไม่กลัวคน และสามารถโตได้ใหญ่เป็นอันดับต้นๆของทุกสายพันธุ์ ได้แก่ ชากอย, โซล่ากอย, คาราชิ, มิโดริกอย เป็นต้น




" เพชรฟาร์ม " :: ฟาร์มปลาคาร์ฟ ญี่ปุ่น นำเข้า 100% สามารถซื้อปลาคราฟ -  ยารักษาโรคปลาคราฟ - วางระบบบ่อปลาคราฟ – อุปกรณ์สำหรับบ่อปลาคราฟ


ติดตามข่าวสารทาง Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/K.PetchFarm



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร : 084-3581969 (ปราง)    Line@ : @koibypetchfarm



#ปลาคราฟ #ปลาคาร์ฟ #ปลาคาร์ป #ล้างบ่อปลา #แก้ปัญหาน้ำไม่ใส #น้ำเขียว #น้ำไม่ใส #ล้างบ่อกรอง #ปลาป่วย #รักษาปลาป่วย #ปลาทอง #ปลาสวยงาม #ยารักษาปลา #ปลาคาร์ฟนำเข้า #ปลานำเข้า #ปลาไม่สบาย #เพชรฟาร์ม #โค่ยบายเพชรฟาร์ม #koibypetchfarm #ขายยาปลา #อุปกรณ์ปลา #ปลาคราฟสวย #ขายปลาถูก