คุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลา
รู้หรือไม่ ? นอกจากเลี้ยงปลาแล้ว เรายังต้องเลี้ยงน้ำด้วยนะ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า “น้ำที่ดี” จะทำให้ปลาคราฟสุขภาพดีตามไปด้วย ดังนั้นเพื่อให้ปลาคราฟอยู่กับเราไปนานๆ ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างสำหรับคนรักปลาคราฟคือ คุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงปลาคราฟน้ำใส ..ไม่ใช่ว่าคุณภาพน้ำจะดี
ค่าความกรด - ด่าง (pH)
โดยปกติแล้วปลาคราฟจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในช่วง 6.5 - 8.5 หากค่า pH ในบ่อเลี้ยงของเราสูง หรือ ต่ำเกินไปจะทำให้ปลาคาร์ฟภูมิคุ้มกันตก มีอาการตัวแดง, เส้นเลือดขึ้นตามตัว, ตัวสาก และตายุบ
ค่า pH ในอุดมคติที่นักเลี้ยงชาวญี่ปุ่นกล่าวไว้คือ ไม่ควรเกิน 7 – 7.7 นั่นเอง
ค่า pH มักจะเป็นค่าที่ไม่คงที่ในแต่ละช่วงเวลาของวัน ในช่วงกลางดึกถึงเช้ามืด ค่า pH ในบ่อจะมีค่าที่ต่ำกว่าในช่วงบ่าย เนื่องจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จากปลา แบคทีเรีย และตะไคร่น้ำในบ่อจะถูกปลดปล่อยออกมา ในขณะที่ช่วงกลางวันในบ่อปลามักจะมีค่า pH ที่สูงกว่าเนื่องจากแบคทีเรีย และ ตะไคร่น้ำใช้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ในการสังเคราะห์แสง
ค่า pH ที่สูง หรือ ต่ำกว่าค่าพื้นฐานสามารถแก้ไขได้โดยการล้างบ่อกรองและเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นประจำสม่ำเสมอ และสามารถตรวจสอบค่า pH ได้โดยการใช้ pH Tester
คุณภาพน้ำที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาควรมีค่าแอมโมเนียเป็นศูนย์ เนื่องจากปริมาณแอมโมเนียที่มีความเป็นพิษต่อปลาสูง แอมโมเนียจะทำให้ค่าความเป็นด่างในน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้ปลามีอาการป่วย ตายุบ, ครีบหุบ และว่ายแฉลบได้
โดยแอมโมเนียมักเกิดจากของเสียในบ่อปลาที่มากจนเกินไปหรือเกิดจากการรวมปลาแล้วไม่ได้กักโรค ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำปริมาณมากๆ ด้วยน้ำปราศจากคลอรีนในทุกวัน วันละ 20 – 40% รวมถึงการเติมจุลินทรีย์ลงในบ่อเลี้ยงเพื่อเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นสารปะกอบอื่นที่ความเป็นพิษลดลง และสามารถตรวจสอบค่า NH3/ NH4+ ได้โดยการใช้ NH3/ NH4+ Tester
โดยแอมโมเนียมักเกิดจากของเสียในบ่อปลาที่มากจนเกินไปหรือเกิดจากการรวมปลาแล้วไม่ได้กักโรค ซึ่งสามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำปริมาณมากๆ ด้วยน้ำปราศจากคลอรีนในทุกวัน วันละ 20 – 40% รวมถึงการเติมจุลินทรีย์ลงในบ่อเลี้ยงเพื่อเปลี่ยนแอมโมเนียให้เป็นสารปะกอบอื่นที่ความเป็นพิษลดลง และสามารถตรวจสอบค่า NH3/ NH4+ ได้โดยการใช้ NH3/ NH4+ Tester
ตัวช่วยในการวัดค่า NH3 / NH4+ ในบ่อปลา
(สนใจสั่งซื้อคลิ๊ก)
ไนไตรท์ (NO2-)
ปริมาณไนไตรท์ที่อยู่ในน้ำนั้นมีความเป็นพิษน้อยกว่าแอมโมเนีย แต่หากมีปริมาณสูงเกินกว่า 0.15 ppm ปลาจะเริ่มมีอาการกระโดดเหนือน้ำและพลิกตัวว่ายแฉลบข้างบ่อเนื่องจากมีอาการระคายเคือง
โดยไนไตรท์จะแย่งจับกับเม็ดเลือดแดงแทนออกซิเจน ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายปลาลดลงทำให้ปลาคราฟอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตก และมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเราสามารถตรวจสอบค่า NO2- ได้โดยการใช้ NO2- Tester และค่าไนไตร์ทปกติในบ่อปลาควรมีค่าเท่ากับศูนย์
โดยไนไตรท์จะแย่งจับกับเม็ดเลือดแดงแทนออกซิเจน ส่งผลให้ปริมาณออกซิเจนที่เข้าสู่ร่างกายปลาลดลงทำให้ปลาคราฟอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันตก และมีอาการติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย โดยเราสามารถตรวจสอบค่า NO2- ได้โดยการใช้ NO2- Tester และค่าไนไตร์ทปกติในบ่อปลาควรมีค่าเท่ากับศูนย์
ตัวช่วยในการวัดค่า NO2- ในบ่อปลา
(สนใจสั่งซื้อคลิ๊ก)
ไนเตรท (NO3-)
ไนเตรทเป็นสารประกอบตัวสุดท้ายที่เกิดจากการย่อยสลายไนไตรท์ หากมีปริมาณมากเกินไปจะส่งผลให้ปลาคราฟเครียดและโตช้า ซึ่งปริมาณไนเตรทที่มากจนเกินไปสามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ครั้งละมากๆ ด้วยน้ำปราศจากคลอรีน การเติมแบคทีเรียที่ดีให้กับบ่อปลารวมไปถึงการใส่หลอดยูวีที่มากขึ้นเพื่อลดปริมาณตะไคร่น้ำในบ่อปลาลงและสามารถตรวจสอบค่า NO3- ได้โดยการใช้ NO3- Tester
ตัวช่วยในการวัดค่า NO3- ในบ่อปลา
(สนใจสั่งซื้อคลิ๊ก)
ค่าแอมโมเนีย, ไนไตรท์ และ ไนเตรท สามารถอ้างอิงได้จากวัฏจักรไนโตรเจน กล่าวคือของเสียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลาคาร์ป ปริมาณอาหารที่มากเกินความจำเป็น รวมถึงปริมาณตะไคร่น้ำที่มากจนเกินไปหลุดออกฟุ้งกระจายและตายทับถมกันในบ่อกรอง ทำให้ปริมาณแอมโมเนียในน้ำเพิ่มสูงขึ้น แบคทีเรีย Nitrosomas จะทำหน้าที่ในการย่อยสลายแอมโมเนียให้กลายเป็นสารประกอบไนไตรท์ (NO2-) นอกจากนี้ Nitrobacteria ยังย่อยสลาย ไนไตรท์ให้กลายเป็นไนเตรท (NO3-) ในลำดับถัดไปอีกตัว ซึ่งไนเตรทบางส่วนจะถูกปลดปล่อยออกไปในรูปของก๊าซไนโตรเจน (N2) ออกสู่บรรยากาศ บางส่วนจะถูกพืชน้ำจับและผ่านปฏิกิริยาเกิดเป็นแอมโมเนียอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้นการรักษาคุณภาพน้ำให้ดีจำเป็นจะต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำและดูแลคุณภาพน้ำโดยการตรวจวัดค่าพื้นฐานเหล่านี้ให้ดีอยู่เสมอ
ออกซิเจน (O2)
ออกซิเจนสามารถละลายในน้ำได้ดีที่อุณหภูมิต่ำโดยค่าที่เหมาะสมขั้นต่ำคือ 7 - 8 มิลลิกรัม / ลิตร ที่อุณหภูมิสูงกว่า 30 องศาเซลเซียสค่าการละลายของออกซิเจนในน้ำจะน้อยลงดังนั้นในสภาพอากาศประเทศไทยที่ร้อนจัดจึงควรมีการเติมอากาศลงในบ่อปลา โดยเฉพาะปลาคราฟเป็นปลาที่ใช้ปริมาณออกซิเจนในการสันดาปภายในร่างกายสูง การเติมอาการเข้าไปในบ่อปลาด้วยปริมาณที่เพียงพอจึงทำให้ปลาคาร์ปสุขภาพแข็งแรง สมบูรณ์ โตไว ไม่เครียด และมีภูมิคุ้มกันที่ดี
สำหรับท่านใดที่อยากเริ่มต้นเลี้ยงปลาคราฟ แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นยังไงดี สามารถแอดไลน์เข้ามาสอบถามได้นะคะ ทางเรามีบริการแบบครบวงจรพร้อมให้คำปรึกษาตั้งแต่ วางระบบบ่อปลาคาร์ฟ ล้างบ่อปลา แก้ไขปัญหาน้ำไม่ใส
ดูผลงานของเรา “โค่ย บาย เพชรฟาร์ม” คลิ๊กข้อความด้านล่างได้เลย
บริการรับล้างบ่อปลา
บริการแก้ไขปัญหาบ่อปลาน้ำไม่ใส
" เพชรฟาร์ม " :: ฟาร์มปลาคาร์ฟ ญี่ปุ่น นำเข้า 100% สามารถซื้อปลาคราฟ - ยารักษาโรคปลาคราฟ - วางระบบบ่อปลาคราฟ – อุปกรณ์สำหรับบ่อปลาคราฟ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official : @koibypetchfarm
#ปลาคราฟ #ปลาคาร์ฟ #ปลาคาร์ป #ล้างบ่อปลา #แก้ปัญหาน้ำไม่ใส #น้ำเขียว #น้ำไม่ใส #ล้างบ่อกรอง #ปลาป่วย #รักษาปลาป่วย #ปลาทอง #ปลาสวยงาม #ยารักษาปลา #ปลาคาร์ฟนำเข้า #ปลานำเข้า #ปลาไม่สบาย #เพชรฟาร์ม #โค่ยบายเพชรฟาร์ม #koibypetchfarm #ขายยาปลา #อุปกรณ์ปลา #ปลาคราฟสวย #ขายปลาถูก