โรคในปลาคาร์ฟ และ อาการป่วย

อาการป่วยของปลา สังเกตง่าย แค่ต้องใส่ใจนะ 


ภาพรวมหลักๆของโรคภัยที่พบในตัวปลาคาร์ฟ หลักๆมักเกิดจาก
ปรสิตทั้งภายในและภายนอก, แบคทีเรีย,  โปรโตซัว, ไวรัส และ เชื้อรา


 

 
"การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง จะช่วยให้การรักษาปลาง่ายขึ้น เพราะการใส่ยาผิดโรค ก็เหมือนกับการฆ่าปลาของท่านเอง เนื่องจากยาทุกตัวมีผลข้างเคียงในการใช้งานจึงควรเลือกใช้ให้ถูกโรค"
 
เราจึงแนะนำให้ลูกค้าใช้ยาหลายชนิดควบคู่กันไปในการรักษาปลาคาร์ปแต่ละครั้ง เช่น กลูตารัลดีไฮด์ + พราซี่ + มาลาไคท์ กรีน ที่ออกฤทธิ์ครอบคลุมทั้ง แบคทีเรีย ปรสิต และ เชื้อรา เนื่องจากการแสดงอาการป่วยมักเกิดจากสาเหตุของโรคร่วมกันหลายปัจจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น
 

Primary Infection : การติดเชื้อปฐมภูมิ
และ
Secondary Infection : การติดเชื้อทุติยภูมิ

 

 

1) ปลาที่มีปรสิต "ปลิงใส" ซึ่งเป็นปรสิตที่มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า

 

ปลิงใส หรือ Gyrodactylus เป็นปรสิตขนาดเล็ก ปลายหน้าสุดของปรสิตจะแยกออกเป็น 2 แฉก ตรงกลางมีสมอใหญ่ 1 คู่ บริเวณขอบมี Marginal hook 16 อันสำหรับเกาะติดตัวปลา โดยการยึดเกาะตัวปลาแบ่งออกเป็น แบบที่เกาะที่ลำตัวปลา และ แบบที่เกาะตามเหงือกปลา ทำให้เกิดโรคที่เรียกว่า Skin Flukes Disease ปลิงใสจะฝังเข้าไปในตัวปลาทำให้เกิดเป็นบาดแผลซึ่งเป็นช่องทางให้แบคทีเรีย, โปรโตซัว และเชื้อราเข้าไปภายในตัวปลา โดยปลิงใสจัดเป็นสาเหตุหลักของโรค หรือ Primary infection เมื่อเนื้อเยื่อของปลาเกิดบาดแผลแล้วแบคทีเรียในน้ำมักเข้าไปจู่โจมทำให้เกิดการติดเชื้อและลุกลาม ซึ่งแบคทีเรียจัดว่าเป็นการติดเชื้อแบบ Secondary infection ดังนั้นการใช้ยาเพียงตัวใดตัวหนึ่งจึงไม่ครอบคลุมการรักษาโรคปลาคาร์ปปละปลาทองโดยรวมทั้งหมด


 

 
หลายท่านเคยถามว่าฟอร์มาลีนรักษาปลิงใสได้มั้ย คำตอบคือ "ฟอร์มาลีนสามารถกำจัดปลิงใสได้ แต่ไม่หมด" มีงานวิจัยของต่างประเทศได้ทำการเปรียบเทียบการกำจัดปลิงใสในปลา พบว่าฟอร์มาลีนให้ผลในการฆ่าปลิงใส ประมาณ 40-50% และเช่นเดียวกับยาในกลุ่มไตรคลอฟรอนก็ไม่สามารถกำจัดปลิงใสได้หมดเช่นเดียวกัน

ในขณะที่ "พราซีควอนเทลสามารถกำจัดปลิงใสได้ดีถึง 90-98%" แต่ข้อจำกัดการใช้ยาคือ พราซีควอนเทลไม่สามารถละลายในน้ำได้ ต้องละลายในแอลกอฮอลล์เท่านั้นก่อนใส่ลงบ่อปลา 

 
 
 
ปลาที่อยุ่ในสภาวะเครียดจะทำให้ปลิงใสเติบโตขึ้นเร็ว ปลาคาร์ฟจะระคายตัว ขับของเสีย และขับเมือกออกมาปกคลุมร่างกาย ทำให้ปริมาณแอมโมเนียในน้ำสูงขึ้นทำให้คุณภาพน้ำแย่ลง การรักษาคือการใส่ยาควบคู่กันทั้งฆ่าปลิงใสและแบคทีเรียรวมถึงการเปลี่ยนถ่ายน้ำเพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้น
 

2) การป่วยจากปรสิตภายนอกเช่น เห็บปลา หนอนสมอ
ซึ่งเป็นปรสิตที่เราสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า 

 


 
วิธีรักษาคือการใส่ "ดีมิลีน" หรือ "ไซเตส" ซึ่งเป็นยากำจัดปรสิตภายนอกตัวปลา ทั้งนี้ควรใส่ยาฆ่าแบคทีเรียร่วมด้วยเพื่อลดอาการติดเชื้อแทรกซ้อน 
การใส่ดิฟเทอเร็กไม่แนะนำอย่างยิ่ง เพราะหากใส่ยาเกินขนาดดิฟเทอเร็กซ์จะดูดซึมเข้าไปในตัวปลามากและทำให้ปลามีปัญหากระดูกสันหลังของปลาคาร์ป ปลาทอง และปลาสวยงามอื่นๆคดงอ 


 
 

3) ปรสิตอิ๊ค หรือ จุดขาวที่เกิดจากเชื้อรา และ โรคที่เกิดจากโปรโตซัว

 
ในช่วงปลายฝนต้นหนาวมักเกิดโรคจุดขาว หรือ อิ๊ค โดยยาหลายชนิดเช่น ฟอร์มาลีน หรือ กลูตารัลดีไฮด์ไม่สามารถรักษาโรคจุดขาวให้หายขาดได้ ต้องใช้ยามาลาไคท์กรีนเท่านั้น ปลาจะมีฝ้าขาว หรือ ขนปุยของเชื้อราขึ้นตามตัว เริ่มซึม เบื่ออาหาร ตัวแดง ตายุบลง และอาจตายได้

วิธีการรักษาสำหรับฝ้าขาวและและจุดขาวตามลำตัวให้ใช้สำลีชุบมาลาไคท์ทาบริเวณที่เกิดโรคและใส่มาลาไคท์ควบคู่กันในบ่อเลี้ยงด้วย โดยมาลาไคท์กรีนที่ร้าน "โค่ย บาย เพชรฟาร์ม" แนะนำคือ ซุปเปอร์อิ๊ค เนื่องจากตัวยามีความเข้มข้นสูงและผลิตจากมาลาไคท์เกรดคุณภาพ ใช้แล้วได้ผลจริง สามารถรักษาให้หายขาดได้ 

 

 
 

4) โรคที่เกิดจาก "ไวรัส" และ "แบคทีเรีย"

 
มักจะพบอาการต่างๆ เช่น รอยจ้ำแดง เส้นเลือดตามตัว โรครู ครีบหุบ ว่ายแฉลบ หัวดิ่ง ลอยนิ่ง ตายุบ กระโหลกยุบ ตัวลีบ และอื่น ๆ รักษาได้ด้วย "ฟอร์มาลีน" หรือ "กลูตารัลดีไฮด์" หรือ "เอนโรฟลอกซาซิน" ซึ่งยาทั้ง 3 ตัวออกฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้การเลือกใช้งานยาตัวไหนขึ้นกับความสะดวกของผู้ใช้แต่ละท่านรวมถึงการเลือกใช้ยาตัวอื่นๆควบคู่ไปด้วย

 

 


 

5) แอมม็อกซีซิลลิน ใช้ในการรักษาปลาที่ป่วยจากเชื้อแบคทีเรียเช่นเดียวกัน
โดยเฉพาะอาการเกล็ดพอง ตัวเปื่อย

 
ข้อแตกต่างระหว่างการใช้ยาแอมม็อกซีซิลลินและยากำจัดแบคทีเรียตัวอื่นๆ คือ ยากำจัดแบคทีเรียชนิดอื่นๆ จะกระตุ้นให้ปลาเกิดการคายเมือกออกมามากและระคายเคืองตัว ส่งผลให้ปลาที่มีอาการตัวเปื่อยหรือเกล็ดพองอยู่แล้วสะบัดเกล็ดให้หลุดออกมากขึ้น จึงต้องใช้แอมม็อกซีซิลลินรักษาโดยการใส่ยาและควรล้นน้ำทุกวันเพื่อลดของเสียจากตัวปลา
 

 
 

"ปลาคาร์ปเป็นปลาที่ไม่มีกระเพาะอาหาร ดังนั้นอาหารที่เราให้จะใช้เวลาอยู่ในตัวปลาเพียงแค่แปปเดียวจากนั้นจะถูกขับออกมาเป็นของเสีย ปริมาณของเสียของปลาคราฟที่เกิดจากการขับถ่ายต่อวันจึงมีสูง การล้นน้ำ ล้างกรองอย่างสม่ำเสมอจึงช่วยให้ปลาของทุกท่านสุขภาพแข็งแรง"

 
 
 

" เพชรฟาร์ม " :: ฟาร์มปลาคาร์ฟ ญี่ปุ่น นำเข้า 100% สามารถซื้อปลาคราฟ -  ยารักษาโรคปลาคราฟ - วางระบบบ่อปลาคราฟ – อุปกรณ์สำหรับบ่อปลาคราฟ


สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ Line Official : @koibypetchfarm





#ปลาคราฟ #ปลาคาร์ฟ #ปลาคาร์ป #ล้างบ่อปลา #แก้ปัญหาน้ำไม่ใส #น้ำเขียว #น้ำไม่ใส #ล้างบ่อกรอง #ปลาป่วย #รักษาปลาป่วย #ปลาทอง #ปลาสวยงาม #ยารักษาปลา #ปลาคาร์ฟนำเข้า #ปลานำเข้า #ปลาไม่สบาย #เพชรฟาร์ม #โค่ยบายเพชรฟาร์ม #koibypetchfarm #ขายยาปลา #อุปกรณ์ปลา #ปลาคราฟสวย #ขายปลาถูก