การกักโรค ปลาคราฟ สำคัญแค่ไหน

   

 

ต้องกักโรคปลาคาร์ป และ ปลาทองทุกครั้งที่ซื้อปลาหรือไม่?

 

ทางเราคงต้องตอบตามตรงว่า การกักโรคปลาไม่ได้จำเป็น 100% หากแต่ปลาตัวนั้น ๆ ที่ผู้เลี้ยงซื้อมาไม่ได้นำโรคติดต่อ
มาด้วย รวมไปถึงปลาตัวเก่าในบ่อของผู้เลี้ยงเองจะต้องไม่มีโรคด้วยเช่นกัน

 

          บ่อเลี้ยงของแต่ละที่ มักจะมีเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส ฯลฯ ที่ไม่เหมือนกัน ขึ้นกับสภาพแวดล้อมและปัจจัยในการเลี้ยงปลา ดังนั้นหลายต่อหลายครั้งที่มักพบว่า การนำปลาตัวใหม่เข้าบ่อโดยไม่ผ่านการกักโรค อาจทำให้ปลาตัวเก่าที่เลี้ยงไว้แต่เดิมป่วย หรือในทางกลับกันปลาตัวใหม่เมื่อลงบ่อแล้วกลับแสดงอาการป่วยและซึมเสียเอง
 

อาการป่วยของปลาที่พบได้บ่อยจากการไม่กักโรคปลาก่อนลงบ่อ ได้แก่
ปลามีอาการซึม นอนนิ่งก้นบ่อ หลบมุม หัวดิ่งลอยในแนวตั้งฉาก ครีบหุบไม่ว่ายน้ำ ลำตัวมีเส้นเลือดขึ้น มีอาการตกเลือด หน้าตอบ ตายุบ ครีบอกและครีบหางแดง ว่ายแฉลบกับพื้นบ่อ ว่ายเร็วบริเวณผิวน้ำ หรือ ว่ายแบบพุ่งตัว กระโดดเหนือผิวน้ำ ครีบเปื่อย หางเปื่อย

 

หากมีปลาของท่าน มีอาการข้างต้นเพียง 1 ข้อ แนะนำว่าให้รีบรักษาปลาโดยด่วน
 

          สาเหตุของการเกิดโรคในปลาคาร์ป และ ปลาทองโดยส่วนใหญ่ เกิดจาก “พยาธิปลิงใส” หรือ “Monogenea” ซึ่งเป็นปรสิตที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า หากส่องตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์มักพบว่าพยาธิปลิงใสจะยึดติดตัวปลาโดยใช้ปากที่มีลักษณะเหมือนตะขอเกาะยึดบริเวณเหงือก ผิวตัว รูทวาร ตา และช่องปาก ส่งผลให้ปลาเกิดอาการคันตามตัวและมีอาการว่ายแฉลบกับพื้นบ่อ ผิวตามลำตัวมีเส้นเลือกขึ้น แดง ตกเลือด กินอาหารน้อยลง ครีบเปื่อย เหงือกถูกทำลาย และขับเมือกออกมามาก
   
          นอกจากพยาธิปลิงใสแล้ว แบคทีเรีย ไวรัส โปรโตซัว และเชื้อรา ยังมีส่วนร่วมทำให้ปลาเกิดอาการป่วยซ้ำซ้อนจนทำให้ปลามีอาการป่วยที่หนักขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยพบว่าหลายต่อหลายครั้งอาการป่วยมักเกิดขึ้นภายหลังการรวมปลากันเพียงแค่ไม่กี่ชั่วโมง และทำให้ปลาคาร์ปหรือปลาทองอาการทรุดหนักและเสียชีวิตภายในเวลาเพียง 1 – 2 วันเท่านั้น


 



 

          ทาง “โค่ย บาย เพชรฟาร์ม” แม้จะเลี้ยงปลาและจำหน่ายปลามาแล้วหลายปี ก็ยังไม่เคยละเลยการกักโรคปลาใหม่แม้แต่ครั้งเดียว นอกจากนี้เวลานำปลาใหม่และปลาเก่ามารวมกันก็จะต้องมีการใส่ยาเพื่อรวมปลาทุกครั้งเพื่อป้องกันอาการป่วยที่ไม่พึงประสงค์ 

          และเพื่อความมั่นใจเรามักเน้นย้ำกับลูกค้าเสมอว่าปลาที่ซื้อไปนั้นควรจะต้องกักโรคอีกครั้งเพื่อป้องกันการแลกเชื้อไม่ผ่านของปลาใหม่และปลาเก่าในบ่อ เพราะเราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า พ่อค้า / แม่ค้า ที่แจ้งว่ากักโรคปลามาให้แล้วนั้น มีการกักโรคปลาโดยผ่านกระบวนการอะไรบ้าง ใช้ยาอะไร ใช้เวลาการกักโรคนานแค่ไหน และปลาปลอดเชื้อมากแค่ไหน หากไม่แน่ใจในคำตอบของคำถามเหล่านี้ เราขอแนะนำให้กักโรคเองทุกครั้งก่อนรวมปลาดีกว่า


 

การกักโรคปลามีขั้นตอนอย่างไร?

 

          วิธีการที่ดีที่สุดในการป้องกันปลาคาร์ฟ หรือ ปลาทองป่วยก็คือการกักโรคปลาใหม่ทุกครั้ง ทาง “โค่ย บาย เพชรฟาร์ม” ขอแนะนำขั้นตอนการกักโรคตามวิธีของเราให้ทุกท่านลองทำตามกันดู
 



 

          1) การเตรียมสถานที่กักปลาคาร์ฟ และ ปลาทองอย่างเหมาะสม ไม่ควรคับแคบเกินไปจนทำให้ปลาเกิดความเครียด
          โดยในกรณีของปลาคาร์พ อ่างกักนั้นต้องมีขนาดใหญ่ไม่น้อยกว่า 3 เท่าของตัวปลา และต้องบรรจุน้ำให้มีความสูงได้ไม่ต่ำกว่า 30 cm เพื่อลดการเกิดอาการ “น็อคน้ำ” เนื่องจากอุณหภูมิเกิดการเปลี่ยนแปลงต่างกันมากเกินไปในช่วงกลางวัน - กลางคืน น้ำที่ใช้ควรเป็นน้ำปราศจากคลอรีน (หากเติมน้ำประปาควรทิ้งไว้ก่อนลงปลา 1-2 วันเพื่อให้คลอรีนระเหยออกจนหมด) มีระบบกรองน้ำเพื่อการหมุนเวียนของเสียที่ดี หากไม่มีระบบกรองให้งดการให้อาหารปลา และควรมีระบบการเติมออกซิเจนให้ปลาคาร์ปอย่างเพียงพอ
          ในกรณีของปลาทอง อ่างกักโรคควรมีขนาดไม่น้อยกว่า 2 เท่าของตัวปลา และสามารถใส่น้ำได้สูงมากกว่าหลังปลาไม่น้อยกว่า 10 cm และมีระบบการเติมอากาศที่เพียงพอ

          2) ภายหลังจากซื้อปลามาต้องนำปลามาลอยในอ่างกักเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 15 - 30 นาทีเพื่อให้ปลาซึ่งเป็นสัตว์เลือดเย็นได้ปรับอุณหภูมิของร่างกายก่อนป้องกันการน็อคน้ำ (ปลาที่น็อคน้ำจะมีอาการว่ายพุ่งตัวอย่างรวดเร็ว ขยับเหงือกถี่ ลอยหัวตั้ง ครีบหุบ และว่ายเอียง) จากนั้นจึงปล่อยปลาออกและนำตาข่ายเนื้อนิ่มมาปิดอ่างกักโรคให้มิดชิดกันปลากระโดด (ในปลาบางตัวอาจมีอาการตื่นน้ำใหม่ ชอบว่ายบริเวณหัวเจ็ทพ่นน้ำ หรือ ว่ายไถกับขอบบ่อ ซึ่งเป็นอาการบ่งชี้ว่าปลาตัวนั้นจะกระโดด ดังนั้นควรหาตาข่ายมาปิดอ่างกักให้มิดชิด) 


 


 
          3) ใส่ยาทั้ง 4 ตัวดังรูป ตามปริมาณที่กำหนดในตาราง
 
 




          4) หลังจากผ่านสัปดาห์การใส่ยาแล้ว ให้นำน้ำจากบ่อเลี้ยงเดิมค่อยๆเติมลงไปในบ่อกักวันละ 20% เพื่อให้ปลาคุ้นชินพร้อมกับสังเกตอาการของปลา โดยปกติในบ่อเลี้ยงหลักจะมีการใส่ Glutaraldehyde ควบคู่ไปกับบ่อกักด้วยเพื่อลดจำนวนเชื้อแบคทีเรียในบ่อเลี้ยงหลักเวลานำปลามารวมกันจะทำให้ปลาปรับสภาพได้ดีมากยิ่งขึ้น และหากไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ กับตัวปลาก็สามารถรวมปลาใหม่กับปลาเก่าได้
         
          5) ภายหลังจากนำปลาใหม่และปลาเก่ามารวมกัน แนะนำให้ใส่ยาในบ่อเลี้ยงหลักอีก 1 โดสเพื่อเป็นการรวมเชื้อและป้องกักอาการป่วย


หากบ่อมีขนาดไม่เกิน 5 ตัน สามารถใช้ชุดกักโรคขนาดเล็กแทนได้




 

รวมปลาแล้วปลาป่วยแก้ไขอย่างไร?

          ในบ่อปลา หรือ ตู้ปลาแต่ละที่ ในสภาพวดล้อมและการเลี้ยงดูที่ต่างกันย่อมส่งผลให้บ่อปลาและตู้ปลาแต่ละที่มีสภาพแวดล้อมโดยรวมที่ต่างกันด้วย กล่าวคือสภาวะเหล่านี้ส่งผลให้จำนวนของเชื้อแบคทีเรียที่ดีและไม่ดีแตกต่างกันออกไป รวมไปถึงการเจริญเติบโตของปรสิต เชื้อรา และโปรโตซัวในบ่อก็มีความแตกต่างเช่นกัน

          โดยในระหว่างการขนย้ายปลาคาร์ฟ และ ปลาทองมาที่บ้านใหม่ ปลามักเกิดความเครียดซึ่งส่งผลต่อภูมิต้านทานของปลาแต่ละตัว นอกจากนี้แล้วการนำปลาใหม่มารวมกับปลาเก่ายังส่งผลทำให้ปลาเก่าในบ่อเกิดความเครียดขึ้นเช่นกันจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปและไม่คุ้นชิน ภายหลังการรวมปลากัน ปลาจะมีการแลกเปลี่ยนเชื้อซึ่งกันและกันระหว่างปลาใหม่และปลาเก่า หากมีความเข้ากันได้ปลาทั้ง 2 ที่ปลอดเชื้อ หรือ เข้ากันได้กับเชื้อของอีกที่หนึ่ง ปลาก็จะไม่เกิดอาการป่วย หากแต่ปลาคาร์พ และ ปลาทองเกิดการแลกเชื้อไม่ผ่าน ก็จะแสดงอาการป่วยออกมาในเวลาไม่นานนัก


          ในกรณีที่มีการรวมปลากันแล้วปลาเกิดอาการป่วยขั้นตอนแรกให้เปลี่ยนถ่ายน้ำปริมาณ 20 – 30%ของปรางมาตรบ่อ เพื่อลดปริมาณของแอมโนเนียและไนเตรทออกจากระบบเป็นการช่วยลดปัจจัยที่ช่วยลดการเพิ่มจำนวนของแบคทีเรียและไวรัสลงได้ นอกจากนี้แนะนำให้ใส่ยาเพื่อกำจัดปรสิต รวมไปถึงยาที่กำจัดปัจจัยแทรกซ้อนอื่นๆด้วย โดยไม่มียาตัวใดตัวหนึ่งที่มีคุณสมบัติครอบจักรวาล การเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับโรคจึงเป็นสิ่งจำเป็น ในกรณีนี้ทางร้านขอแนะนำยา 3 ตัวนี้ที่จะช่วยรักษาปลาของท่านให้หายจากการแลกเปลี่ยนเชื้อไม่ผ่านได้เป็นอย่างดี
 
  



โดยในกรณีของปลาป่วยเราจะต้องใส่ยาในโดสและความถี่ที่แตกต่างจากกักโรคโดยปกติ ดังนี้



 

หากใส่ยาและดูแลคุณภาพน้ำตามวิธีข้างต้นอาการป่วยของปลาจะดีขึ้นเรื่อย ๆตามลำดับ  อาจจะใช้เวลาและความใส่ใจมากสักหน่อย แต่ 1 ชีวิตก็มีค่าและไม่ควรละเลย

" การกักโรคสำคัญอย่างยิ่งในการเลี้ยงปลา อย่าลืมกันนะ " 


" เพชรฟาร์ม " :: ฟาร์มปลาคาร์ฟ ญี่ปุ่น นำเข้า 100% สามารถซื้อปลาคราฟ -  ยารักษาโรคปลาคราฟ - วางระบบบ่อปลาคราฟ – อุปกรณ์สำหรับบ่อปลาคราฟ


ติดตามข่าวสารทาง Facebook Fanpage
https://www.facebook.com/K.PetchFarm



สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ โทร : 084-3581969 (ปราง)    Line@ : @koibypetchfarm


#ปลาคราฟ #ปลาคาร์ฟ #ปลาคาร์ป #ล้างบ่อปลา #แก้ปัญหาน้ำไม่ใส #น้ำเขียว #น้ำไม่ใส #ล้างบ่อกรอง #ปลาป่วย #รักษาปลาป่วย #ปลาทอง #ปลาสวยงาม #ยารักษาปลา #ปลาคาร์ฟนำเข้า #ปลานำเข้า #ปลาไม่สบาย #เพชรฟาร์ม #โค่ยบายเพชรฟาร์ม #koibypetchfarm #ขายยาปลา #อุปกรณ์ปลา #ปลาคราฟสวย #ขายปลาถูก